วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เวลาและความสำคัญของเวลา

การศึกษาประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น อาจส่งผลและมีความสำคัญต่อปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์จึงมีความเกี่ยวข้องกับเวลา เพราะเมื่อเรากล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และที่จะเกดขึ้นในอนาคต เรามักจะกล่าวถึงช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งช่วงเวลาทำให้เรารู้ว่า เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง จึงเห็นได้ว่า "เวลา" มีความสำคัญและจำเป็นต่อการศึกษาประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก1. การใช้ช่วงเวลาบอกเล่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทย เวลาเป็นเครื่องหมายที่สำคัญ และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์โดยตรง การใช้คำบอกช่วงเวลาในการเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีหลายแบบ ดังนี้- บอกอย่างละเอียด วัน เดือน ปี (วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325)- บอกอย่างกว้าง ๆ พุทธศตวรรษ คริสต์ศตวรรษ ทศวรรษ- บอกเป็นศักราช พุทธศักราช (พ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.)- บอกเป็นสมัย สมัยหิน สมัยโลหะ สมัยประวัติศาสตร์- บอกตามราชธานี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์- บอกตามสมัยของพระมหากษัตริย์ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133 - 2148) สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. 2310 - 2325)- บอกตามรัชกาล สมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325 - 2352) สมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน)- บอกตามราชวงศ์ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์จักรี- บอกแบบจันทรคติ วันศุกร์ เดือน 4 ค่ำ ขึ้น 10 ค่ำ ปีมะโรง ปีศก จุลศักราช 1146 ปี- บอกแบบสุริยคติ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417การใช้คำบอกช่วงเวลาในงานเขียนด้านประวัติศาสตร์นั้น มีหลายรูปแบบดังตัวอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสม หรือความประสงค์ของผู้เขียนว่า จะใช้แบบใดจึงจะเหมาะสมกับเหตุการณ์เรื่องราว ที่จะสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากที่สุด2. เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย การลำดับเหตุการณ์ในการศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทย จะช่วยให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์เรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุผล ทำให้ไม่สับสนในการลำดับความคิด อีกทั้งสามารถจดจำเหตุการณ์สำคัญตามลำดับได้ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น