หน่วยที่ 4 บุคคลสำคัญ

ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย




พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมารเมื่อ พ.ศ. 2437 นับเป็นพระองค์ที่ 2 และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ

พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ด้านการเมืองการปกครอง

1.1) ทรงสร้างความรู้สึกชาตินิยมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน โดยเน้นความจงรักภักดีต่อ "ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" ทรงใช้วิธีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อเป็นศูนย์รวมใจและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเสียสละ ความสำนึกในหน้าที่พลเมืองที่ดีของชาติ และสำนึกในความเสียสละของบรรพบุรุษ เช่น ทรงสร้างธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติ ทรงกำหนดให้มีวันสำคัญ บุคคลสำคัญของชาติ เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้วันที่ 6 เมษายนเป็นวันชาติ เรียกว่า "วันจักรี" ตามแบบอารยประเทศที่มีวันชาติของตน เป็นต้น

1.2) ทรงประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งต่อมาเป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ไทยได้รับผลดี คือ ได้ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ประเทศไทยได้รับการยกย่องให้มีฐานะเท่าเทียมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ได้เป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ และถือเป็นโอกาสดำเนินการแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่ผูกมัดไทยมานานนับตั้งแต่สนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398



2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม

2.1) ทรงสร้างความเป็นสากลให้แก่ชาติไทย โดยนำประเทศเข้าสู่สังคมนานาชาติในทางวัฒนธรรม เช่น ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุล พ.ศ. 2456 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม เพื่อปลูกฝังให้ชาวไทยมีความรู้สึกสำนึกและภาคภูมิใจในชาติ ในวงศ์ตระกูล ทรงประกาศใช้คำนำหน้านาม คือ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง เด็กชาย ทรงให้ความสำคัญกับสตรีมากขึ้น ทรงเรียกร้องให้ชาวไทยตระหนักถึงฐานะและสิทธิของสตรี ทรงดำเนินการต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมการศึกษาของสตรีโดยตั้งโรงเรียนให้ฝึกหัดครูสตรี แล้วส่งออกไปสอนในชนบทต่าง ๆ เปิดโอกาสให้สตรีเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเท่าเทียมบุรุษ เช่นเดียวกับสตรีในอารยประเทศ กำหนดให้ข้าราชการในราชสำนักจดทะเบียนครอบครัวและเคหสถานเพื่อให้ครอบครัวเกิดความเรียบร้อยสงบสุข และเป็นการยกฐานะของภรรยาให้ชัดเจนขึ้น ทรงเปลี่ยนธงชาติใหม่จากธงรูปช้างเป็นธงไตรรงค์ และทรงเปลี่ยนการนับเวลาตามแบบสากล คือ จากเดิมวันใหม่หรือย่ำรุ่งของไทย เริ่มในเวลา 6 นาฬิกา เปลี่ยนเป็นเริ่มวันใหม่ตั้งแต่หลัง 24 นาฬิกา เป็นต้น

2.2) ทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (คือ วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ใน พ.ศ. 2554 สถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เป็นมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ใน พ.ศ. 2459 และทรงประกาศให้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 เป็นการเริ่มการศึกษาภาคบังคับ

2.3) ทรงมีงานพระราชนิพนธ์ประเภทต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน บทความ สารคดี นิทาน บทละคร รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และบาลี ทั้งที่พระราชนิพนธ์เองและทรงแปล ทรงใช้ทั้งพระนามจริงและพระนามแฝง เช่น วชิราวุธ อัศวพาหุ สุครีพ พันแหลม รามจิตติ ศรีอยุธยา บทพระราชนิพนธ์มีหลากหลายประเภท เช่น บทความปลุกใจในหนังสือพิมพ์ บทละคร โคลง กลอน เพื่อสร้างทัศนคติหรือค่านิยม ความคิด ความประพฤติ ศีลธรรมจรรยา การเมือง สังคม ความรัก การชมธรรมชาติ
 
ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย




พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท (พ.ศ. 2351 - 2414) มีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้านวม" ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาปรางใหญ่ และเป็นต้นราชสกุลสนิทวงศ์ ทรงมีความรู้ทาง



ด้านการแพทย์แผนไทย ทรงกำกับกรมหมอและทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการต่างประเทศและการศึกษา

ในวาระแห่งวันคล้ายวันประสูติครบ 200 ปีของพระองค์ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกในสาขา



ปราชญ์และกวี (Scholar and Poet) ประจำปี พ.ศ. 2551 - 2552 และเป็นบุคคลที่มีผลงานด้านการศึกษาและวรรณกรรม การแพทย์และการสาธารณสุข และการต่างประเทศ

พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ด้านการเมืองการปกครอง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงมีความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมตะวันตกและชาวตะวันตกเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายไทยร่วมกับกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคในการเจรจาทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตก ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาเบาว์ริง ทรงดำเนินนโยบายทางการทูตด้วยความประนีประนอมและผ่อนปรน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดำเนินไปด้วยดี



2. ด้านการแพทย์

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงนิพนธ์ "ตำราสรรพคุณยาของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เล่ม 1 และเล่ม 2" นับเป็นตำราสมุนไพรไทยเล่มแรกของไทยที่มีการจำแนกสรรพคุณของสมุนไพรตามแบบวิทยาศาสตร์การแพทย์ตะวันตก ทรงเรียนรู้ในวิชาการแพทย์แผนตะวันตก ทรงเป็นแพทย์ไทยพระองค์แรกที่ได้รับการถวายประกาศนียบัตรและทรงได้รับการทูลเชิญให้เป็นสมาชิกของสถาบันการแพทย์แห่งนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา



3. ด้านวรรณกรรม

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิททรงมีพระปรีชาสามารถในการประพันธ์โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน พระนิพนธ์มีหลากหลายรูปแบบทั้งสาระและการบันเทิง เช่น หนังสือแบบเรียนจินดามณี เล่ม 2 และงานตรวจสอบชำระเรื่องพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เรื่องนิราศพระประธม เพลงยาวสามชาย ตำราเพลงยาวกลบท สิงโตาเล่นหาง โคลงภาพฤาษีดัดตน เป็นต้น