วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงงานประวัติศาสตร์

โครงงานประวัติศาสตร์
เรื่อง ตำนานเกาะหนูเกาะแมว
ผู้จัดทำ
นิจจารียื รักขุนส้อง
โรงเรียนวรนารีเฉลิม
บทคัดย่อ
ในการทำโครงงานประวัติศาสตร์เรื่องตำนานเกาะหนูเกาะแมว คณะผู้จัดทำได้มุ่งศึกษาถึงตำนาน , เรื่องเล่าของเกาะหนูเกาะแมว โดยการศึกษาเนื้อหาและสัมภาษณ์ ผู้คนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงและได้นำเนื้อหาดังกล่าวมารวบรวมทำเป็นโครงงานกิตติกรรมประกาศโครงงาน ประวัติศาสตร์เรื่องตำนานเกาะหนูเกาะแมว คณะผู้จัดทำได้รับความช่วยเหลือจากผู้คนบริเวณนั้นมากเป็นอย่างดีในการทำโครงงานและได้คำปรึกษาที่ดีจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานมาโดยตลอดทำให้โครงงานดังกล่าวสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการคณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณทุกคนที่กล่าวมาไว้ ณ ที่นี้ด้วยคณะผู้จัดทำ
บทที่1
บทนำ
1.หลักการและเหตุผลที่ทำโครงงาน ในจังหวัดสงขลาที่เราอยู่นั้นมีเรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์มากมายในกลุ่มของข้าพเจ้านั้นได้สนใจที่จะศึกษาตำนานเกาะหนูเกาะแมวเพราะมีความน่าสนใจและมีภาพเป็นหลักฐานชั้นดีที่จะสร้างจินตนาการในเรื่องอดีตที่เราเกิดไม่ทันแต่เราสามารู้ได้จากการเล่าให้ฟังของผู้ใหญ่2.จุดประสงค์ของโครงงาน1.เพื่อให้ได้รู้วิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์
2.เพื่ออนุรักษ์ประวัติศาสตร์3.อยากให้ทุกคนได้รู้ตำนานเรื่องเล่า
3.สถานที่ทำการศึกษา
1.หาดสมิหลา
บทที่ 2
สมัย อดีตนานมาแล้ว ในสมัยนั้นจังหวัดสงขลา ยังไม่มีเกาะและภูเขาเหมือนเช่นทุกวันนี้ เรื่องที่เกิดมีภูเขาและเกาะต่างๆ ขึ้นนั้น ก็เนื่องมาจาก มีเศรษฐีชาวจีนผู้หนึ่ง ได้แล่นเรือสำเภามาเมืองไทย และได้ซื้อข้าวสารที่เมืองสงขลาไปขายที่เมืองจีน เศรษฐีนี้ มีแก้วสารพัดนึก หรือแก้ววิเศษอยู่อันหนึ่ง ซึ่งแกหวงมากไม่ยอมให้ใครแตะต้อง และได้เก็บไว้ในห้องอย่างมิดชิดมาก กล่าวกันว่าไม่เคยมีใครได้เข้าไปใกล้ชิด หรือได้เคยเห็นแก้ววิเศษของเศรษฐีนั้นเลย ครั้งหนึ่งเศรษฐีผู้นี้ก็ได้แล่นเรือมาที่สงขลา เพื่อบรรทุกข้าวไปขายที่เมืองจีนอีก คราวนี้ เผอิญมีหนูตัวหนึ่งติดเรือไปด้วย หนูตัวนี้เป็น หนูที่ฉลาดมาก มันรู้ว่าตาเศรษฐีเจ้าของเรือมีแก้ววิเศษ มันก็คิดอยากจะได้มา แล้วมัน ก็วางแผนที่จะเอามาเป็นของมันอยู่ตลอดเวลา แล้วมันก็ได้ขโมยเอาแก้ววิเศษ จากเศรษฐีนั้น มาโดยมันได้คาบลูกแก้วว่ายน้ำมายังสงขลา ฝ่ายเศรษฐี เมื่อรู้ว่าลูกแก้วถูกขโมย ก็ตกใจมากประกอบกับเห็นรอยผ้าที่หนูกัดเป็นวงๆ ก็รู้ทันทีว่าเป็นหนูเข้ามาขโมยไปแน่ๆ ทำให้เศรษฐีเสียใจเป็นอันมาก เศรษฐีผู้นี้แกยังได้เลี้ยงสัตว์ไว้ 3 ตัว คือสุนัข 2 ตัว กับแมว 1 ตัว เจ้าสัตว์ทั้ง 3 ตัวนี้เป็นสัตว์ที่แสนรู้ และมีความกตัญญูมาก เมื่อมันเห็นเจ้านายของมันเศร้าโศกเสียใจ ก็รู้ทันทีว่าเศรษฐีเป็นอะไร จึงได้พากันออกกระโจนลงทะเล ว่ายน้ำตามหาลูกแก้วมาคืนให้เศรษฐีทันที แมวและสุนัขว่ายน้ำ ออกตามหาหนูอยู่หลายวันก็อ่อนเพลียไปตามๆ กัน หนู ก็พยายามว่ายเข้าฝั่งเมืองสงขลา สุนัขและแมวก็ว่ายตามมาอย่างกระชั้นชิด ครั้นใกล้ถึงปากอ่าวเมืองสงขลา หนูก็เห็นสุนัข และแมวว่ายตามมาก็ตกใจกลัว จึงปล่อยแก้ววิเศษที่คาบมานั้นตกลงทะเลไป เมื่อหมดอำนาจของแก้ววิเศษ หนูก็หมดแรงไม่สามารถว่าเข้าหาฝั่งได้ประกอบกับทั้งเหนื่อยล้า ฝ่ายแมวก็หมดแรงเหมือนกัน ดังนั้นทั้งหนูและแมวต่างจมน้ำตาย ที่ปากอ่าวเมืองสงขลานั้น ส่วนสุนัขมีกำลังมากกว่า ก็พยายามว่ายเข้าไปจนถึงฝั่ง แต่ถึงกระนั้นก็พยายามเดินโซซัดโซเซ ไปได้เพียงไม่กี่ก้าว ก็ล้มลงขาดใจตาย ด้วยความเหนื่อยและความหิว แก้วสารพัดนึกหรือแก้ววิเศษ ที่จมอยู่ใต้ท้องทะเลตรงปากอ่าว ก็ได้กลายเป็นหาดทรายขึ้นมา และด้วยอานุภาพของแก้ววิเศษ ก็บันดาลให้หนู และแมวที่จมน้ำตายนั้น กลายเป็นเกาะขึ้นมาเรียกว่า “ เกาะหนู ” และ “ เกาะแมว ” มาจนทุกวันนี้ ส่วนซากของสุนัข 2 ตัวก็กลายเป็นภูเขาสองลูกเรียกกันว่า “ เขาน้อย ” และ “ เขาตังกวน ” หาดทรายที่เกิดขึ้นเพราะอำนาจแก้ววิเศษก็เลยได้ชื่อว่า “ หาดแก้ว ” มาจนถึงทุกวันนี้
บทที่3
อุปกรณ์และวิธีการศึกษา
1.อุปกรณ์และวัสดุในการศึกษา
1.อุปกรณ์การเขียน

2..วิธีการศึกษา
1.ศึกษาเรื่องที่สนใจจากหนังสือพจนานุกรม
2.นำหัวข้อเรื่องที่ได้มาศึกษาต่อโดยการสอบถามหรือค้นหาเนื้อหาจากอินเตอร์เน็ต
3.สำรวจเพิ่มเติมจากประชาชนบริเวณหาดสมิหลา
4.สรุปเนื้อหา
5.รวบรวมทำเป็นโครงงาน
บทที่4
ผลการศึกษาจากการศึกษาได้ผลสรุปดังนี้
1.ได้รู้ประวัติเกาะหนูเกาะแมว
2.ได้รู้จักประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่งของจังหวัดสงขลา
3.ได้รู้จักอนุรักษ์ประวัติศาสตร์
4.ทำให้รู้ว่าจังหวัดสงขลามีเรื่องเล่าหรือตำนานต่างๆมากมาย

บทที่5
ผลสรุปและการอภิปรายผลการศึกษาจากการที่ได้ไปศึกษาประวัติศาสตร์เรื่องตำนานเกาะหนูเกาะแมวทำให้เราได้รู้สิ่งต่างๆอีกมากมายที่เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าในจังหวัดสงขลาที่เราอยู่นั้นมีประวัติศาสตร์แต่กลุ่มของข้าพเจ้าได้สนใจเรื่องเกาะหนูเกาะแมวเพราะมันมีตำนานและมีสัญลักษณ์ประกอบนั้นก็คือภูเขารูปเกาะหนูและรูปแมว

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การเมืองการปกครองของไทยในสมัยสุโขทัยและอยุธยา

ได้วิวัฒนาการมาสอดคล้อง กับสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยนั้น ๆ ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์การเมืองการปกครองของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเป็นสำคัญสาระการเรียนรู้1. พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย- การปกครองของไทยแต่เดิม- การปกครองสมัยสุโขทัย- การปกครองสมัยอยุธยาของไทยในปัจจุบัน2. การเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ตราไว้ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 เล่มที่ 47)- สรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงประชามติแบบเรียงหมวด- ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 25403. การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ- สถาบันการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ไทยตอนนี้ อยู่ที่การทำ สนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชการที่ 4 ที่มาและสาระสำคัญของการทำสนธิสัญญาเบาริง มีดังนี้1. ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงนโยบาย ต่างประเทศ มาเป็นการคบค้ากับชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดของชาติ เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนั้น2. จุดเริ่มของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจ้าวิกตอเรีย ได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา3. สาระสำคัญของสนธิสัญเบาริง มีดังนี้- อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย- คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้- คนอังกฤษสามารถสร้างวัด และเผยแพร่คริสต์ศาสนาได้- เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3- พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี- สินค้าต้องห้าม ได้แก่ ข้าว ปลา เกลือ- ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศ อังกฤษ จะต้องทำให้อังกฤษด้วย- สนธิสัญญานี้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี และในการแก้ไข ต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย และ ต้องบอกล่วงหน้า 1 ปี4. ผลของสนธิสัญญาเบาริงผลดี1. รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ2. การค้าขยายตัวมากขึ้น เปลี่ยนแปลงการค้าเป็นแบบเสรี3. อารยธรรมตะวันตก เข้ามาแพร่หลาย สามารถนำมาปรับปรุงบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้ามาขึ้นผลเสีย1. ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้อังกฤษ และคนในบังคับอังกฤษ2. อังกฤษ เป็นชาติที่ได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง3. อังกฤษ เป็นฝ่ายได้เปรียบ จึงไม่ยอมทำการแก้ไขผล จากการทำสนธิสัญญาเบาริง ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทย เปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อนำประเทศให้เจริญก้าวหน้า ตามแบบอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้1. ด้านการปกครองใน สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีบางอย่าง เพื่อให้ราษฎร มีโอกาสใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ คือ เปิดโอกาสให้ราษฎร เข้าเฝ้าได้โดยสะดวก ให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ครั้งสำคัญ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การปรับปรุงในระยะแรก ให้ตั้งสภา 2 สภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) กับการปรับปรุงการปกครอง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2435) ซึ่งนับว่า เป็นการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่ โดยมีลักษณะ คือ การปกครองส่วนกลาง โปรดให้ยกเลิกการปกครอง แบบจตุสดมภ์ และ จัดแบ่งหน่วยราชการเป็นกรมต่าง ๆ 12 กรม (กะรทรวง) มีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง การปกครองส่วนภูมิภาค ทรงยกเลิก การจัดหัวเมืองที่แบ่งเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี และจัตวา เปลี่ยนการปกครองเป็น เทศาภิบาล ทรงโปรดให้รวมเมืองหลายเมืองเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาล เป็นผู้ปกครอง ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย กับทรงแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด (เมือง) อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน และการปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มจัดการทดลองแบบ สุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก2. ด้านเศรษฐกิจภาย หลังการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้ว การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้น มาก ทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ เช่น ในรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยม ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน ให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์แทนเงินแบบเดิม มีการจัดตั้งธนาคารของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรก คือ แบางก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์) ในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดให้ตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบันคือ ธนาคารออมสิน)3.ด้านวัฒนธรรมใน สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนาและประกอบอาชีพ โปรดให้สตรีได้ยกฐานให้สูงขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตก และสวมหมวกอย่างยุโรป ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบ ตามแบบตะวันตก โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมตัดยาว ที่เรียกว่า "ทรงดอกกระทุ่ม" ทรงแก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ โดยยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แล้วโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ขึ้น ทรงเลิกประเพณีหมอบคลานเข้าเฝ้า และให้ยืนเข้าเฝ้าแทน ยกเลิกการโกนผม เมื่อพระมหากษัตริย์สวรรคต ยกเลิกการไต่สวนคดีแบบจารีตนครบาล และที่สำคัญที่สุด ที่พระองค์ทรงได้พระราชสมัญญานาม ว่า "พระปิยมหาราช" ซึ่งแปลว่า มหาราชที่ทรงเป็นที่รักของประชาชน คือการยกเลิกระบบไพร่ และระบบทาส ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัตินามกสุล โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และนาง เปลียนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์ ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป4.สภาพสังคมการ เลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงดำริว่า การที่ประเทศไทยมีชนชั้นทาสมากเท่ากับเป็นการเสียเศรษฐกิจของชาติ และทำให้ต่างชาติดูถูกและเห็นว่าประเทศไทยป่าเถื่อนด้อยความเจริญ ซึ่งมีผลทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ คิดจะเข้าครอบครองไทย โดยอ้างว่า เพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วทั้งหลายดัง นั้น ใน พ.ศ.2417 พระองค์จึงทรงเริ่มออกพระราชบัญญัติพิกัดกระเษียรอายุลูกทาสลูกไทขึ้น โดยกำหนดค่าตัวทาสอายุ 7-8 ปี มีค่าตัวสูงสุด 12-14 ตำลึง แล้วลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีอายุ 21 ปี ค่าตัวจะเหลือเพียง 3 บาท ซึ่งทำให้ทาสมีโอกาสไถ่ตัวเป็นไทได้มากและใน พ.ศ.2420 พระองค์ทรงบริจาคเงินจำนวนหนึ่งเพื่อไถ่ตัวทาสที่อยู่กับเจ้านายมาครบ 25 ปี จำนวน 45 คน พ.ศ.2443 ทรงออกกฎหมายให้ทาสสินไถ่อายุครบ 60 ปี พ้นจากการเป็นทาสและห้ามขายตัวเป็นทาสอีก พ.ศ.2448 ออกพระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124 บังคับทั่วประเทศ ห้ามมีการซื้อทาสต่อไป ให้ลดค่าตัวลงเดือนละ 4 บาท จนครบจำนวนเงิน และให้บรรดาทาสเป็นไททั้งหมดการ เลิกทาสของพระองค์ประสบความสำเร็จอย่างดี เป็นเพราะพระปรีชาญาณและพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ทรงใช้ทางสายกลาง ค่อยๆดำเนินงานไปทีละขั้นตอน ทำให้ไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงดังเช่นประเทศต่างๆ ที่เคยประสบมา

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองการปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๓๕) สภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระ กรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้น เป็นสำคัญการปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วยการบริหารในระดับต่ำลงมา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยากรมของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความ มั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎรหัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแลหัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆนโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิดส่วนการปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระ มหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้ง สองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกันในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้นสำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ๑.มูลเหตุภายใน ทรง พิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทางสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก๒.มูลเหตุภายนอก ทรง พิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัยพัฒนาการด้านเศรษฐกิจสภาพทางเศรษฐกิจสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงยึดแบบแผนที่ปฏิบัติมา ตั้งแต่สมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีเป็นหลัก ซึ่งพอจะประมวลองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ 3 ประการคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ ระบบเงินตรา1. หน่วยงานที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ1.1 พระคลังสินค้า เป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับการค้าขาย ทำหน้าที่ควบคุมสินค้าขาเข้าและขาออก ตลอดจนการเลือกซื้อสินค้าที่ทางราชการต้องการ หรือสินค้าผูกขาด (สินค้าที่ทางราชการต้องการและคิดว่ามีอันตรายหากพ่อค้าจะทำการซื้อขายกัน โดยตรง) ได้แก่ อาวุธ กระสุนปืน และควบคุมกำหนดสินค้าต้องห้าม (คือสินค้าที่หายากและมีราคาแพง ราษฎรต้องนำมาขายให้แก่ทางราชการ) ได้แก่ งาช้าง รังนก ฝาง กฤษณา พระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานการค้าแบบผูกขาด จึงได้ผลกำไรมาก แต่เมื่อไทยมีการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตก พ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้รับความสะดวกภายหลังหน่วยงานนี้ถูกยกเลิกไปภายหลังการ ทำสนธิสัญญาเบาว์ริง1.2 กรมท่า เป็นกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับพ่อค้าต่างชาติ เพราะกรมนี้มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล จึงเป็นกรมที่กว้างขวางและคุ้นเคยกับชาวต่างชาติ ปัจจุบันกรมนี้คือกระทรวงการต่างประเทศ1.3 เจ้าภาษีนายอากร ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บภาษีใหม่ คือรัฐบาลจะเรียกเก็บภาษีอากรเฉพาะที่สำคัญๆ เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็จะประมูลให้เอกชนรับเหมาผูกขาดในการดำเนินการเรียกเก็บจาก ราษฎร ผู้ที่ประมูลได้เรียกว่า "เจ้าภาษีหรือนายอากร" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนเกือบทั้งหมดตามหัวเมือง ราษฎรจะเรียกว่า กรมการจีนระบบเจ้าเจ้าภาษีนายอากรนี้มีทั้งผลดีและผลเสียต่อชาติดังนี้ผลดี ช่วยประหยัดในการลงทุนดำเนินการ ทำให้ท้องพระคลังมีจำนวนภาษีที่แน่นอนไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการเรียกเก็บผลเสีย เจ้าภาษีนายอากรบางคนคิดหากำไรในทางมิชอบ มีการรั่วไหลมักใช้อำนาจข่มขู่ราษฎรเรียกเก็บเงินตามพิกัด2. ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ2.1 การเกษตร มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของชาวไทยตลอดเวลา มีกรมนารับผิดชอบ รายได้ของแผ่นดินส่วนใหญ่รับจากภาษีอากรด้านการเกษตร เช่น อากรค่านา อากรสมพัตสร (เก็บจากไม้ล้มลุกแต่ไม่ใช่ข้าว) และมีการเดินสวน เดินนา2.2 การค้าขาย การค้าจะทำโดยพระคลังสินค้าและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ สินค้าที่มีการซื้อขายระหว่างพระคลังกับพ่อค้ามี 2 ประเภทคือ สินค้าผูกขาดกับสินค้าต้องห้าม และได้มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นของทางราชการ เช่นค้าขายกับจีน อินเดียและพวกอาหรับ ในสมัยรัชกาลที่ 2 การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้น เพราะพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3 ต่อมา) ทรงเป็นหัวแรงสำคัญจนได้รับสมญาว่า "เจ้าสัว" และมีการค้าขายกับทางตะวันตก เช่น โปรตุเกส อังกฤษ อเมริกา ฮอลันดา สมัยรัชกาลที่ 3 การค้าขายสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ2.3 ภาษีอากร ภาษีอากรที่เรียกเก็บ มี 4 ประเภทคือ- จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านที่เก็บจากเรือ เกวียน หรือเครื่องบรรทุกอื่นที่ผ่านด่าน- อากร คือ ภาษีที่เก็บจากราษฎรซึ่งประกอบอาชีพที่มิใช่การค้า ซึ่งปกติจะเรียกอากรตามอาชีพที่ทำ เช่น อากรค่านา อากรสุรา- ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากค่าบริการที่ทางราชการทำให้แก่ราษฎร เช่น ออกโฉนด ค่าธรรมเนียมศาล- ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงผู้ที่ไม่ต้องเข้าเวรส่งมอบแทนการเข้าประจำการ3. ระบบเงินตรา- เงินพดด้วง (รูปสัณฐานกลมเป็นก้อนแต่ตีปลาย 2 ข้างงอเข้าหากัน)- เงินปลีกย่อย ใช้เบี้ยและหอยเหมือนสุโขทัยและอยุธยาพัฒนาการด้านสังคมสภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรีองค์ประกอบของสังคมไทยประกอบด้วยสถาบันต่างๆ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ และทาส1. พระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชาพระมหากษัตริย์ในฐานะองค์สมมติเทพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพตามติของศาสนาพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็น สมมติเทพ เช่น การสร้างที่ประทับ พระที่นั่งพระราชวัง การประกอบพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น พระมหากษัตริย์ในฐานะธรรมราชา ตามคติธรรมราชานั้นถือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม 10 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ อย่างไรก็ตาม โดยขัตติยราชประเพณีแล้วพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะประดุจดังสมมติเทพ โดยคติความเชื่อ แต่ในทางปฏิบัติ พระองค์ทรงเป็นธรรมราชา ทำให้ฐานะของพระมหากษัตริย์ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะของความเป็นผู้ นำทางการเมืองที่เหมือนคนธรรมดามากขึ้น แต่พระองค์ก็ยังทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเป็นเจ้าชีวิตของปวงชน เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นจอมทัพ เป็นต้น และพระบรมราชโองการของพระองค์ ผู้ใดจะฝ่าฝืนไม่ได้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษอย่างหนัก2. พระบรมวงศานุวงศ์สกุลยศและอิสริยยศของพระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายส่วนใหญ่ก็อยู่ในฐานะอันสูงส่ง ทั้งนี้เพราะเป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศกับอิสริยศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วน อิสรยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น อิสริยยศที่สำคัญที่สุดและสูงที่สุด ได้แก่ พระมหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับตำแหน่งทรงกรมก็คือเป็นอิสริยยศด้วยเหมือนกัน ได้แก่ กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จ การถือศักดินาของพระบรมวงศานุวงศ์ แตกต่างกันไปตามลำดับ ถ้าเป็นเจ้าฟ้าจะมีศักดินาสูงสุด หม่อมราชวงศ์จะมีศักดินาต่ำสุด แต่ถ้าทรงกรมก็มีศักดินาสูงกว่าเจ้านายในระดับเดียวกัน แต่มิได้ทรงกรม เช่น เจ้าฟ้าที่เป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระมหากษัตริย์ถ้าไม่ได้ทรงกรมจะถือ ศักดินา 20,000 ไร่ ถ้าทรงกรมจะถือศักดินาถึง 50,000 ไร่ตามลำดับ สิทธิตามกฏหมายของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีสิทธิอยู่ 2 ประการ คือ จะพิจารณาคดีของพระบรมวงศานุวงศ์ในศาลใดๆ ไม่ได้นอกจากศาลของกรมวัง และ จะนำพระบรมวงศานุวงศ์ไปขายเป็นทาสไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้กระทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้นได้อย่างถูกต้องตาม กฏหมาย3. ขุนนางคือ บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ ขุนนางเปรียบเหมือนข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการแผ่นดินบางคนจะไม่ได้มีฐานะเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางต้องขึ้นอยู่กับศักดินาของตนด้วย ผู้มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปถึงได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็กเพราะถือว่าพวกนี้เป็นขุนนางอยู่แล้วการลำดับยศของขุนนาง ยศของขุนนางมี 7 ลำดับ จากสูงสุดไปต่ำสุดดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น และ พัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไป มีศักดินาไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้เป็นพัน หมื่น ขุนอาจมีสิทธิไม่ได้เป็นขุนนางก็ได้ ถ้าศักดินาของตนเองไม่ถึง 400 ไร่ และอาจมีสิทธิเป็นขุนนางได้ถ้ามีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป สิทธิตามกฏหมายของพวกขุนนาง เช่น ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานไปใช้ โดยการยกเว้นนี้ต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย แต่ถ้าผู้ใดเป็นข้าราชการมีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ก็จะได้รับเอกสารยกเว้นการเกณฑ์แรงงานเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้มิได้คลุมไปถึงลูกของข้าราชการเหล่านั้น สำหรับผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้ เป็นต้น4. ไพร่ฐานันดรไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสภาพไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยา ไพร่ถูกมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้ เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช้ในราชการต่างๆ ด้วยเหตุนี้ไพร่จึงต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วยและถ้า เจ้าขุนมูลนายของตนสังกัดอยู่กรมกองใด ไพร่ผู้นั้นก็ต้องสังกัดในกรมกองนั้นตามเจ้านายด้วยไพร่อาจแบ่งประเภทตามสังกัดได้เป็น 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงและไพร่สม ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ระบุไว้ของแต่ละกรมกอง ดังนั้นไพร่หลวง จึงอยู่ในกรม 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงที่ต้องมารับราชการตามที่ทางราชการกำหนดไว้ หากมาไม่ได้ต้องให้ผู้อื่นมาแทนหรือส่งเงินแทนการรับราชการ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯให้ไพร่หลวงเปลี่ยนเป็นอยู่เวรรับราชการปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงลดเวลารับราชการของไพร่หลวงลงอีกจาก 4 เดือน เป็น 3 เดือนต่อปี คือเข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 3 เดือน ไพร่หลวงที่ต้องเสียเงิน แต่ไม่ต้องมารับราชการ ซึ่งเรียกว่า ไพร่หลวงส่วย ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีเงินเดือน การควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงการได้รับผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ได้รับส่วนลดจาการเก็บเงินค่าราชการ หรือได้รับของกำนัลจากไพร่ เป็นต้น ไพร่สมนั้นจะตกเป็นของมูลนายตราบเท่าที่ขุนนางผู้เป็นมูลนายยังมีชีวิตอยู่ ในตำแหน่งราชการ เมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรของขุนนางผู้นั้นจะยื่นคำร้องขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดาไพร่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะของตนเองได้ใน 2 กรณี คือ ถ้าทำความดีความชอบอย่างสูงต่อแผ่นดิน อาจได้รับเลื่อนฐานะเป็นขุนนางได้ แต่ถ้ามีความผิดหรือเป็นหนี้สินต่อนายเงิน ก็จะต้องตกเป็นทาสได้เช่นกันในเรื่องความเป็นอยู่ของไพร่นั้น ไพร่หลวงจะมีฐานะลำบากที่สุด ส่วนไพร่ส่วยสบายที่สุด เพราะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานเพื่อเข้ารับราชการ ทั้งในยามสงครามและยามสงบปีละ 3 เดือน ส่วนไพร่สมก็มีหน้าที่รับใช้มูลนายเป็นส่วนใหญ่ ไพร่สมจึงทำงานเบากว่าไพร่หลวง5. ทาสหมาย ถึง บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส นายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้นการแบ่งประเภทของทาส ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทาสคงมีอยู่ 7 ประเภทเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ได้แก่ ทาส ไถ่มาด้วยทรัพย์,ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย,ทาสที่ได้มาข้างฝ่ายบิดามารดา, ทาสมีผู้ให้,ทาสอันได้ช่วยกังวลธุระทุกข์ด้วยคนต้องโทษทัณฑ์,ทาสที่เลี้ยง เอาไว้ในเวลาข้าวยากหมากแพง,และทาสเชลย ทาสเหล่านี้อาจไม่ยอมขอทานเพราะถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงยอมขายตัวลงเป็นทาส การหลุดพ้นจากความเป็นทาส ทาสมีโอกาสได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาส ในกรณีต่อไปนี้ - ถ้านายเงินอนุญาตให้ทาสบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรหรือนางชี ก็ถือว่าหลุดพ้นจากความเป็นทาส แม้ภายหลังจะลาสิกขาบทแล้ว ก็จะเอาคืนมาเป็นทาสของตนไม่ได้ - ในกรณีนายเงินใช้ทาสไปทำสงครามและทาสถูกจับเป็นเชลย ต่อมาหนีรอดมาได้ก็หลุดพ้นจากความเป็นทาส ถ้าทาสฟ้องนายว่าเป็นกบฏและสวบสวนได้ว่าเป็นจริง ให้ทาสนั้นพ้นจากความเป็นทาสได้ - นายเงิน พ่อของนายเงิน หรือพี่น้องลูกหลานของนายเงิน ได้ทาสเป็นภรรยา ให้ทาสนั้นเป็นไท และลูกที่เกิดมานั้นเป็นไทด้วย ถ้าทาสนั้นตายด้วยการทำธุรกิจใดๆ ให้แก่นายเงิน นายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายไม่ได้ แต่ถ้าตายด้วยเหตุอื่นนายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายได้บ้าง เป็นอิสระด้วยการไถ่ตัว อาจจะเป็นผู้ขอไถ่ตัวเอง หรือมีบุคคลใดก็ได้มาไถ่ให้เป็นอิสระ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายหลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทาสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกทาสได้เพิ่มจำนวนมาก และคาดว่าผู้ที่เป็นทาสนั้นมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่ยอมเป็นทาสเพราะปัญหาซึ่งมีหนี้สินเป็นจำนวนมากที่สุด ทั้งนี้เพราะพวกชาวบ้านเป็นจำนวนมากที่ต้องเป็นหนี้สินเนื่องจากเก็บเกี่ยว ไม่ได้ผล แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงานนอกจากนี้สถาบันสงฆ์ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส อาจเปลี่ยนสถานภาพจากฆราวาสมาเป็นพระภิกษุในสถาบันสงฆ์ได้ และผู้เป็นพระสงฆ์จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์แรงงานพระสงฆ์จะเป็นผู้ได้รับความเคารพนับถือจาก คนไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงไพร่และทาส แต่ในบางครั้งเมื่อสถาบันพระสงฆ์เสื่อมโทรมด้วยข้อวัตรปฏิบัติ พระมหากษัตริย์จะทรงเอาเป็นพระธุระเพื่อปรับปรุงแก้ไข และทำการปฏิรูปคณะสงฆ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น ดังเช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงออกกฏหมายพระสงฆ์เพื่อควบคุมให้พระสงฆ์มีความบริสุทธิ์ เป็นต้นสำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอาศัยอยู่ใน ราชอาณาจักรมีอยู่ด้วยกันหลายพวก เป็นต้นว่า มอญ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน บางพวกก็หนีร้อนมาพึ่งเย็น บางพวกก็ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย ไม่ได้มีโอกาสกลับบ้านเมืองของตนเอง แต่ในบรรดาคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรและมีผลกระทบอย่าง สำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของไทยในสมัยนี้คือพวกคนจีนพัฒนาการด้านศิลปวัฒนธรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาให้กลับมาเจริญ รุ่งเรืองขึ้นใหม่ นอกจากนี้ก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ให้วัฒนธรรมไทยในยุคนี้ด้วย นับได้ว่าเป็นการธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อยุธยาให้กลับเจริญ รุ่งเรือง หลังจากประสบกับวิกฤตการณ์สงครามสู้รบระหว่างไทยกับพม่ามาแล้วสภาพทางสังคมของไทยตั้งแต่อดีต ได้ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมจึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจริญ รุ่งเรืองทางศาสนาด้วย ศิลปกรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บรรจงสร้างด้วยความประณีตก็เกิดจากแรงศรัทธาทางศาสนาทั้งสิ้น1.การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนาในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรัง สฤษดิ์ ใน พ.ศ.2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ 5 เดือน ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา เหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน 3 วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย ในสมัยนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้มีโอกาสเผยแผ่ ในประเทศไทยโดยพวกมิชชันนารี ทำให้คนไทยบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันในวงการพระพุทธศาสนาของไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปข้อ วัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทยให้สอดคล้องกับคำสอนในพระไตรปิฏก โดยเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และได้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2370-2394) ทรงเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปครั้งนั้น จนกระทั่งได้ทรงตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า "ธรรมยุติกนิกาย"2. การทำนุบำรุงศิลปกรรมการทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 ในบรรดาศิลปกรรมของไทยซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงให้ความสนพระทัยมากนั้น ได้แก่ บรรดาตึกรามต่างๆ ที่สร้างขึ้น ล้วนมีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงามทั้งภายในและภายนอก ทั้งโดยปูนและโดยไม้แกะสลัก ตึกที่ทรงให้จัดสร้างขึ้นส่วนมากเป็นวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งไพศาลทักษิณ, พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน, พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นต้น รัชกาลที่ 1 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดี ดังนั้นในสมัยนี้จึงมีบทวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ นอกจากนี้ก็มีการแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทย เช่น หนังสือสามก๊ก ,ราชาธิราช เป็นต้นการทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงสนพระทัยในเรื่องการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่างๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง "สวนขวา" ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 3) พระปรางค์จะตกแต่งด้วยถ้วยและชามจีนซึ่งทุบให้แตกบ้าง แล้วติดกับฝาทำเป็นลวดลายรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการแกะสลัก ดังจะเห็นได้จากประตูวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น รัชกาลที่ 2 โปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะและท่ารำต่างๆ โดยพระองค์เอง พระองค์โปรดให้มีพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่ หรือเอาเรื่องเดิมมาแต่งขึ้นใหม่ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มีทั้งหมด 7 เรื่อง เรื่อง"อิเหนา" เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เองตลอดทั้งเรื่อง ส่วนอีก 6 เรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้กวีท่านอื่นๆ ร่วมงานด้วยการทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 การผลิตงานทางด้านศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 จัดว่ามีลักษณะเยี่ยมยอดในวงการศิลปะของไทยไม่แพ้ในสมัยอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมุ่งซ่อมแซมและปรับปรุงปราสาทมากกว่าจะสร้างใหม่ โดยระมัดระวังรักษาแบบดั้งเดิมเอาไว้ พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์และขยายเขตวัดวาอารามมากมาย ทรงสร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้น 5 วัด ให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางสร้างอีก 6 วัด วัดสำคัญที่สร้างในสมัยนี้ได้แก่ วัดเทพธิดาราม,วัดราชนัดดา,วัดเฉลิมพระเกียรติ์,วัดบวรนิเวศวรวิหาร,วัดบวร สถาน,วัดประยูรวงศ์,วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น สิ่งก่อสร้างมากมายที่เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระสถูป พระมลฑป หอระฆัง เป็นต้น โบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาลาดเป็นชั้น มุงกระเบี้องสี ผนังก่ออิฐถือปูนประดับลวดลาย และมีเสาใหญ่รายรอบรับชายคา โบสถ์ขนาดใหญ่และสวยงามที่สร้างในรัชกาลนี้คือ โบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งสร้างแบบสามัญ ส่วนโบสถ์วัดบวรนิเวศวรวิหารสร้างเป็นแบบมีมุขยื่นออกมาทั้งสองข้างทางด้าน ปลาย สถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างอื่นๆ ที่มีความสำคัญรองลงมา คือ พระมณฑป ศาลา หอระฆัง และระเบียงโบสถ์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นงานที่ดีที่สุด คือ ระเบียงรอบพระวิหารที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งมีหน้าบันแกะสลักไว้อย่างงดงามผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ได้ก่อสร้างไว้ บริเวณวัด และจัดอยู่ในจำพวกสิ่งก่อสร้างปลีกย่อยคือ เรือสำเภาซึ่งก่อด้วยอิฐ รัชกาลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อว่าในอนาคตเมื่อไม่มีการสร้างเรือสำเภากันอีก แล้ว ประชาชนจะได้แลเห็นว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร วัดที่พระองค์ทรงรับสั่งให้สร้างสิ่งอันเป็นประวัติศาสตร์นี้ คือ "วัดยานนาวา"ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพเขียนแบบไทยต่างๆ ส่วนมากไม่โดดเด่น ที่เขียนขี้นมาส่วนใหญ่เพื่อความมุ่งหมายในการประดับให้สวยงามเท่านั้น ส่วนงานช่างแกะสลักในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนามากกว่างานช่างในสาขาจิตรกรรม โดยเฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องบันดาลใจอันสำคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดผลงานทางด้านศิลปะประเภทนี้ทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ 3 ทรงสนับสนุนวรรณคดีทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ดังเช่น หนังสือเรื่อง "มลินทปัญญา" เป็นต้น แต่ในสมัยนี้ไม่สนับสนุนให้มีการแสดงละครภายในพระบรมมหาราชวัง ทั้งยังไม่โปรดปรานนักแสดงหรือนักประพันธ์คนใดเลยกล่าวโดยสรุป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทำนุบำรุงและฟื้นฟูทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และการทำนุบำรุงก็กระทำโดยวิธีรักษารูปแบบเดิมไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมาก

บทบาทพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในการพัฒนาชาติไทย

บทบาทพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นในการพัฒนาชาติไทยสถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชาติไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้1. การป้องกันและรักษาเอกราชของชาตินับตั้งแต่อดีตพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะจอมทัพ เป็นผู้นำในการทำสงครามเพื่อป้องกันบ้านเมืองและขยายอำนาจ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสระภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้นำขับไล่พม่าหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงเป็นแม่ทัพสำคัญมาตั้งแต่สมัยธนบุรี ทรงทำสงครามกับพม่า สงครามครั้งใหญ่ คือ สงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 แม่แต่ในสมัยที่ไทยเผชิญภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเป็นผู้นำในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อรักษาเอกราชของชาติ โดยใช้นโยบายทางการทูตสร้างความสัมพันธ์กับราชสำนักต่างชาติเมื่อเผชิญกับความขัดแย้งกับชาติตะวันตก เช่น รัฐบาลไทยใช้การเจรจาทางการทูตทั้งการเจรจาในเมืองไทยและในฝรั่งเศส ในกรณี ร.ศ. 112 โดยขุนนางไทยและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเจรจากับฝรั่งด้วยพระองค์เอง เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ. 2440นอกจากนี้ทรงผูกมิตรกับรัสเซีย เพื่อให้รัสเซียช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยกับฝรั่งเศสอีกทางหนึ่ง และทรงยอมเสียดินแดนส่วนน้อยที่ไม่ใช่ดินแดนไทยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้ หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) และส่งทหารไทยไปยุโรปด้วย ทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกับฝ่ายชนะสงคราม โดยได้ยกเลิกสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่เคยทำกับชาติตะวันตกไว้ในเวลาต่อมา2. การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาชาติไทยด้วยเช่นกัน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้1) ด้านประเพณีและพิธีสำคัญต่าง ๆ พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์พระราชพิธีและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติไทยมาตั้งแต่อดีต ทั้งพระราชพิธีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยตรง เช่น พระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีของรัฐ เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และพระพระราชพิธีทางศาสนา เช่น พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ล้วนมีพระมหากษัตริย์ดป็นผู้นำในการปฏิบัติ2) ด้านศาสนา พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยเป็นองค์อุปถัมภ์และส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน การสังคายนาพระไตรปิฏก การแต่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไทย) ทรงแต่งไตรภูมิพระร่วงหรือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสนับสนุนให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันแต่งหนังสือเรื่องมหาชาติคำหลวง นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีขันติธรรมทางศาสนา ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ราษฎร และทรงสนับสนุนศาสนาอื่น ๆ เช่น พระราชทานที่ดินให้สร้างเป็นโบสถ์คริสต์และมัสยิดในศาสนาอิสลามทั้งในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ เป็นต้น3) ด้านวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต ในอดีตราชสำนักเป็นศูนย์กลางประเพณีและวัฒนธรรม ชาวบ้านจะเรียนแบบการประพฤติปฏิบัติของชาววัง เช่น การแต่งกาย อาหารนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะการรับวัฒนธรรมแบบตะวันตก เช่น การใช้ช้อนส้อม การนั่งโต๊ะ เก้าอี้ การแต่งกายแบบตะวันตก ทำให้วัฒนธรรมแบบใหม่แพร่หลายไปสู่ประชาชนครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังเรื่องชาตินิยม ให้คนไทยมีความรักและจงรักภักดีต่อ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" ซึ่งกลายเป็นคำขวัญมาจนถึงปัจจุบัน ทรงนำประเทศเข้าสู่สังคมนานาชาติในทางวัฒนธรรม โดยให้คนไทยมีนามสกุลเพื่อแสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม มีการใช้คำนำหน้าเด็ก สตรี บุรุษ ทรงเปลี่ยนการนับเวลาตามแบบสากล 24 นาฬิกา และทรงประดิษฐ์ธงชาติแบบใหม่ เรียกว่า "ธงไตรรงค์" ให้เหมือนกับธงที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้กัน 4) ด้านศิลปกรรม แบ่งออกเป็น4.1) ด้านวรรณกรรม พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางการประพันธ์ เช่น รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดน บทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง เงาะป่า ไกลบ้าน รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย เช่น เทศนาเสือป่า นิทานทองอิน ศกุนตลา มัทนะพาธา รวมทั้งทรงแปลบทละครของวิเลียม เชกสเปียร์ เช่น เวนิสวานิช โรมิโอและจูเลียต รวมทั้งรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ทรงแปลเรื่องนายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต (Tito) จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น4.2) ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นมีอยู่มากมาย เช่น ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ ตามแบบศิลปะลพบุรี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชสมัยที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นสมบัติของชาติมาถึงปัจจุบัน โดยโปรดให้ถ่ายแบบพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยามาสร้าง เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นอกจากนี้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเรียงรายไว้รอบพระนคร ป้อมที่เหลือมาถึงปัจจุบัน คือ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นสมบัติของชาติมาถึงปัจจุบัน โดยโปรดให้ถ่ายแบบพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยามาสร้าง เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นอกจากนี้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเรียงรายไว้รอบพระนคร ป้อมที่เหลือมาถึงปัจจุบัน คือ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ทรงพระสำราญและต้อนรับแขกเมือง ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนีที่วัดสุทัศนเทพวราราม รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโลหะปราสาทที่วัดราชนัดดาราม และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างและซ่อมแซมพระราชวัง เช่น เปลี่ยนหลังคาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและเพิ่มการปิดทองเข้าไป รื้อประตูกำแพงวังเดิมเป็นประตูที่มียอดมณฑปเป็นไม้ เปลี่ยนเป็นประตูหอรบอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้อมที่ตั้งอยู่ทางปากอ่าวไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตึกและพระที่นั่งทั้งแบบตะวันตก และประยุกต์ระหว่างศิลปะไทยกับตะวันตก เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นต้นสำหรับงานประติมากรรมส่วนใหญ่จะโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูป เช่น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระศรีสรรเพชญ์ประดิษฐานไว้ในวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม โดยทรงปั้นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูปบางประทานพร ภ.ป.ร. รวมทั้งทรงสร้างพระพิมพ์ส่วนพระองค์ คือ พระพิมพ์จิตรลดา เป็นต้นในด้านจิตรกรรม เช่น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างเขียนเขียนสมุดภาพไตรภูมิ เพื่อให้คนทั้งหลายประกอบความดีละเว้นความชั่ว รัชกาลที่ 3 ทรงให้การส่งเสริมช่างฝีมือทุกชาติ งานจิตรกรรมในรัชสมัยนี้จึงมีอยู่หลายแห่งที่มีการนำศิลปะจีนเข้ามาผสม เช่น ประตูพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยในพระราชวังบวรสถานมงคล (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) มีการประดับลวดลายที่แตกต่างไปจากเดิม คือ มีลายต้นไม้ ดอกไม้ นก แมลง และกิเลน ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานของจีนปรากฏอยู่ด้วย ขณะเดียวกันก็มีการเขียนสีทอง ซึ่งดัดแปลงมาจากจิตรกรรมของไทยมีความโดดเด่น รวมทั้งรัชกาลที่ 9 ทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์ ซึ่งมีทั้งแบบเหมือนจริง (Realism) แบบเอกซ์เพรสชันนิซึม (Expressionism) และแบบนามธรรม (Abstractionism)4.3 ด้านนาฏกรรมและการดนตรี นาฏกรรมของไทยเริ่มมีแบบแผนขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โดยได้รับอิทธิพลมาจากละครหลวงของเขมรและโปรดให้มีการเล่นดึกดำบรรพ์ (ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นการแสดงโขน) จนกระทั่งถึงในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดการเล่นละครอย่างมาก จึงทรงส่งเสริมการละครจนมีความเจริญรุ่งเรืองครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ. 2310 การละครไทยเสื่อมโทรมลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำพม่าใน พ.ศ. 2310 การละครไทยเสื่อมโทรมลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำละครหญิงของเจ้านครเมื่อคราวเสด็จลงไปปราบชุมนุมเจ้านครเข้ามาเป็นครูฝึกร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมจากที่ต่าง ๆ ฝึกหัดเป็นละครหลวงขึ้นใหม่ ในสมัยรัตนโกสินทร์ นาฏกรรมได้รับการฟื้นฟูในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้รับการส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงฟื้นฟูท่ารำอย่างโบราณทั้งโขนและละคร และปรับปรุงท่ารำต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงส่งเสริมการละคร ซึ่งกลายเป็นต้นแบบทางการละาครที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบันในด้านการดนตรี รัชกาลที่ 2 ทรงชำนาญการเล่นซอสามสาย ทรงใช้ซอที่พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ประพันธ์เพลง "บุหลันลอยเลื่อน" หรือ บุหลันลอยฟ้า" ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงประพันธ์เพลงราตรีประดับดาว และในสมัยรัชกาลที่ 9 ทรงประพันธ์เพลงพระราชนิพนธ์ไว้จำนวนมาก เช่น พรปีใหม่ ลมหนาว ใกล้รุ่ง สายฝน เป็นต้นกล่าวโดยสรุป ในประวัติศาสตร์ไทยมีประเด็นสำคัญหลายเรื่องที่น่าศึกษา เช่น ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย อาณาจักรโบราณในดินแดนไทยและอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรไทย สาเหตุและผลการปฏิรูป การปกครองบ้านเมือง การเลิกทาสและเลิกไพร่ การเสด็จประพาสยุโรปและหัวเมืองสมัยรัชกาลที่ 5 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บทบาทของสตรีไทยนอกจากนี้ ตลอดประวัติศาสตร์ไทยจะเห็นได้ว่าไทยเป็นชนชาติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองบทบาทพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อการพัฒนาชาติไทยสถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชาติไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ด้านการเมืองนับตั้งแต่อดีตพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะจอมทัพ เป็นผู้นำในการทำสงครามเพื่อป้องกันบ้านเมืองและขยายอำนาจ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสระภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้นำขับไล่พม่าหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงเป็นแม่ทัพสำคัญมาตั้งแต่สมัยธนบุรี ทรงทำสงครามกับพม่า สงครามครั้งใหญ่ คือ สงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 แม่แต่ในสมัยที่ไทยเผชิญภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเป็นผู้นำในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อรักษาเอกราชของชาติ โดยใช้นโยบายทางการทูตสร้างความสัมพันธ์กับราชสำนักต่างชาติเมื่อเผชิญกับความขัดแย้งกับชาติตะวันตก เช่น รัฐบาลไทยใช้การเจรจาทางการทูตทั้งการเจรจาในเมืองไทยและในฝรั่งเศส ในกรณี ร.ศ. 112 โดยขุนนางไทยและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเจรจากับฝรั่งด้วยพระองค์เอง เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ. 2440นอกจากนี้ทรงผูกมิตรกับรัสเซีย เพื่อให้รัสเซียช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยกับฝรั่งเศสอีกทางหนึ่ง และทรงยอมเสียดินแดนส่วนน้อยที่ไม่ใช่ดินแดนไทยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้ หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) และส่งทหารไทยไปยุโรปด้วย ทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกับฝ่ายชนะสงคราม โดยได้ยกเลิกสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่เคยทำกับชาติตะวันตกไว้ในเวลาเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับ เกษตรกรรม และการค้า สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รายได้มาจาก 2 ทาง คือ (1) การเก็บภาษีอากร มีดังนี้ คือจังกอบ ค่าภาษีผ่านด่านทั้งทางบกและทางน้ำ โดยเก็บสิบหยิบหนึ่ง อากร เป็นการเก็บชักส่วนจากผลประโยชน์ของราษฎร ที่ไม่ใช่อาชีพค้าขาย เช่น ทำนา ทำสวน ฤชา ค่าบริการที่ราชการเรียกเก็บจากราษฎร เช่น การออกโฉนดส่วย เงินหรือสิ่งของ ที่ราษฎรเสียให้แก่ราชการเพื่องดเว้นการเข้าเวร (2) รายได้จากพระคลังสินค้า มีดังนี้ คือ 2.1 ภาษีปากเรือ หรือภาษีเบิกร่อง 2.2 เก็บจากสินค้าชนิดพิเศษ 2 ประเภท คือ สินค้าผูกขาดและสินค้าต้องห้าม สมัย ร.2 การค้าสำเภาของไทยเจริญก้าวหน้ามาก ผู้มีบทบาทมาก คือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ สมัย ร.3 • ไทยทำสนธิสัญญาฉบับแรก คือ สนธิสัญญาเบอร์นี • เปลี่ยนวิธีการเก็บภาษีใหม่ เรียกว่า ระบบเจ้าภาษีนายอากร สมัยรัชกาลที่ 4• ไทยทำสนธิสัญญา เบาริง พ.ศ. 2398 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสาระ ดังนี้ (1) คนที่อยู่ในสังกัดอังกฤษ จะอยู่ภายใต้อำนาจกงศุล (2) คนในสังกัดอังกฤษ ได้รับสิทธิทำการค้าโดยเสรีในมืองท่าทุกแห่ง (3) ยกเลิกภาษีเบิกร่องและภาษีปากเรือ เก็บภาษีเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3 (4) สัญญาไม่มีกำหนดเวลาการแก้ไข • สร้างโรงกษาปณ์ ผลิตเงินเหรียญขึ้นใช้แทนเงินพดด้วง มีเหรียญเงิน ดีบุก ทองแดง และทอง • ขยายพื้นที่ทำนา และบุกเบิกใหม่ สมัยรัชกาลที่ 5 • ทรงตั้งหน่วยงานเก็บเงินแผ่นดิน เรียกว่า หอรัษฎากรพิพัฒน์ และยกเลิกระบบเจ้าภาษี นายอากร • สร้างหน่วยเงินตราเป็นระบบทศนิยม (สตางค์) • เปลี่ยนมาตราฐานเงินมาเป้นมาตราฐานทองคำ • คณะบุคคลได้ร่วมมือกันก่อตั้งธนาคารของคนไทยแห่งแรก เรียกว่า บุคคลัภย์ หรือ แบงก์สยามกัมมาจล ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ • มีการจัดงบประมาณแผ่นดิน • จัดระบบเงินเดือนแก่ข้าราชการ ยกเลิกระบบ "กินเมือง สมัยรัชกาลที่ 6• ได้ตัดสินพระทัยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เข้าข้างฝ่ายพันธมิตร จุดประสงค์เพื่อข้อ แก้ไขสันธิสัญญาเบาริง สมัยรัชกาลที่ 7 • สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจหรือสมุดปกเหลือง แต่มีผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยมาก จึงล้มเลิกไป • สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายเศรษฐกิจแบบชาตินิยม เพื่อกำจัดอิทธิพลของต่างชาติ มีคำขวัญว่า " ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" มีการตราพระ ราชบัญญัติ จัดหางานให้ผู้ไร้อาชีพ • สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์มีการวางแผนและเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการ ตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้น พ.ศ. 2502 และมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก พ.ศ. 2504 – 2509 5. ด้านสังคมและวัฒนธรรม • มีการแบ่งชนชั้นเหมือนสมัยอยุธยาและในจำนวนนี้ชนชั้นไพร่มีมากที่สุด ไพร่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท (1) ไพร่หลวง (2) ไพร่สม ทาส กำหนดไว้ 7 ประเภท คือ • ทาสสินไถ่ ทาสในเรือนเบี้ย ทาสได้มาแต่บิดามารดา ทาสท่านให้ ทาสอันได้จากทัณฑ์โทษ ทาสอันเกิดจากทุพภิกภัย และทาสเชลย ต่อมาด้านวัฒนธรรมไทยบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาชาติไทยด้วยเช่นกัน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้1 ด้านประเพณีและพิธีสำคัญต่าง ๆ พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์พระราชพิธีและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติไทยมาตั้งแต่อดีต ทั้งพระราชพิธีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยตรง เช่น พระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีของรัฐ เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และพระพระราชพิธีทางศาสนา เช่น พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ล้วนมีพระมหากษัตริย์ดป็นผู้นำในการปฏิบัติ2 ด้านศาสนา พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยเป็นองค์อุปถัมภ์และส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน การสังคายนาพระไตรปิฏก การแต่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไทย) ทรงแต่งไตรภูมิพระร่วงหรือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสนับสนุนให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันแต่งหนังสือเรื่องมหาชาติคำหลวงนอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีขันติธรรมทางศาสนา ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ราษฎร และทรงสนับสนุนศาสนาอื่น ๆ เช่น พระราชทานที่ดินให้สร้างเป็นโบสถ์คริสต์และมัสยิดในศาสนาอิสลามทั้งในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ เป็นต้น3 ด้านวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต ในอดีตราชสำนักเป็นศูนย์กลางประเพณีและวัฒนธรรม ชาวบ้านจะเรียนแบบการประพฤติปฏิบัติของชาววัง เช่น การแต่งกาย อาหารนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะการรับวัฒนธรรมแบบตะวันตก เช่น การใช้ช้อนส้อม การนั่งโต๊ะ เก้าอี้ การแต่งกายแบบตะวันตก ทำให้วัฒนธรรมแบบใหม่แพร่หลายไปสู่ประชาชนครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังเรื่องชาตินิยม ให้คนไทยมีความรักและจงรักภักดีต่อ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" ซึ่งกลายเป็นคำขวัญมาจนถึงปัจจุบัน ทรงนำประเทศเข้าสู่สังคมนานาชาติในทางวัฒนธรรม โดยให้คนไทยมีนามสกุลเพื่อแสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม มีการใช้คำนำหน้าเด็ก สตรี บุรุษ ทรงเปลี่ยนการนับเวลาตามแบบสากล 24 นาฬิกา และทรงประดิษฐ์ธงชาติแบบใหม่ เรียกว่า "ธงไตรรงค์" ให้เหมือนกับธงที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้กันด้านการต่างประเทศการเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตกดูบทความหลักที่ กรุงรัตนโกสินทร์ และ การเปลี่ยนแปลงดินแดนของสยามและไทยดูเพิ่มที่ สยามภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหาอำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลายครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก และเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถรักษาเอกราชของตนไว้ได้

การเมืองไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงยุคปัจจุบัน

อาจกล่าวได้ว่า นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึง พ.ศ.2545 เป็นระยะเวลา 70 ปี ของพัฒนาการของการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยเราสามารถแบ่งการเมืองการปกครองในช่วงระยะเวลาดังกล่าวออกได้เป็น 5 ยุคสำคัญ คือยุคที่หนึ่ง ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง (พ.ศ.2475 – พ.ศ.2490)เป็นยุคของความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรกับกลุ่มผู้ปกครองเดิม อันประกอบไปด้วยกลุ่มเจ้าและพวกขุนนาง และความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในคณะราษฎรด้วยกันเอง และสถานการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2ในระยะห้าปีแรกของการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ อันมีผลนำไปสู่ความคลอนแคลนของรัฐบาล เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่ง ได้แก่ กรณีการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ เมื่อ พ.ศ.2476 กล่าวคือ ในขณะที่มีการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ได้มีประกาศของคณะราษฎรซึ่งระบุถึงนโยบาย 6 ประการนายปรีดี ได้ยกร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นจากนโยบายข้อสาม เค้าโครงเศรษฐกิจนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มาก ว่ามีลักษณะแนวทางแบบสังคมนิยม ทำให้เกิดการแตกแยกกันในรัฐบาล จนถึงกับต้องมีการปิดการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ส่วนนายปรีดี ต้องเดินทางออกจากประเทศไทย อย่างไรก็ตาม คณะทหารภายใต้การนำของนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ทำการยึดอำนาจรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2476 แล้วตั้งตัวเองเป็นรัฐบาลวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2476 ได้เกิดการกบฏของกลุ่มนายทหารและข้าราชการในต่างจังหวัด ภายใต้การนำของพระองค์เจ้าบวรเดช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยประกาศว่า ต้องการให้ประเทศชาติมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม การกบฏครั้งนี้ก็ถูกปราบปรามลง เจ้านายหลายพระองค์ต้องเสด็จนิราศไปประทับยังต่างประเทศ มีหลายคนในคณะกบฏต้องรับโทษจำคุก หลังจากนั้นไม่ถึงสองปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ และทรงสละราชสมบัติ คณะราษฎรจึงได้ถวายราชบัลลังก์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในเวลาต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ.2481 พระยาพหลพลพยุหเสนาก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากสุขภาพไม่ดีจึงทำให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ดำรงตำแหน่งต่อมา หลังจากนั้นทหารเริ่มมีอำนาจมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2481 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2487 จอมพล ป. ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นเวลาห้าปีครึ่ง ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในการสร้างประวัติศาสตร์ของเมืองไทย นโยบายที่สำคัญที่สุดคือ รัฐนิยม ซึ่งเป็นนโยบายรักชาติ แสดงออกโดยการรณรงค์ต่อต้านคนจีน และนโยบายสงครามที่เป็นมิตรกับญี่ปุ่นพร้อมกับประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา นโยบาย ดังกล่าวมีตั้งแต่โครงการรวมชาติ การสร้างเอกลักษณ์ของชาติ การสร้างความเป็นชาตินิยมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และความสนใจต่อผลประโยชน์ของสาธารณะนโยบายที่อันตรายที่สุดของจอมพล ป. ก็คือการตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง การตัดสินใจประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา และอังกฤษเกิดจากเหตุผลหลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือ ความกดดันจากสถานการณ์และอาจจะมาจากการคาดการณ์ผิดคิดว่าญี่ปุ่นจะชนะสงคราม ดังนั้นการเข้าร่วมกับญี่ปุ่นก็เหมือนกับการเข้าร่วมกับผู้ชนะซึ่งประเทศไทยอาจได้ผลประโยชน์ร่วมกับผู้ชนะ แต่ว่าการตัดสินใจของจอมพล ป. กลายเป็นข้อผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงและทำให้ต้องเสียตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากสงครามโลกสิ้นสุดลงเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ประเทศไทยซึ่งเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่นก็แพ้สงครามด้วย แต่มีปัจจัยสองข้อที่ทำให้ผู้นำไทยสามารถจัดการกับสถานการณ์เพื่อหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ปัจจัยสองประการนี้คือ(1) ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตันปฏิเสธที่จะส่งสาส์นประกาศสงครามให้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา(2) ได้มีการจัดตั้งขบวนการเสรีไทยซึ่งประกอบด้วยคนไทยที่อยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการกู้เอกราชของชาติขบวนการนี้ตั้งขึ้นโดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งได้ร่วมมือกับนายปรีดี พนมยงค์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งได้รวบรวมกำลังคนภายในประเทศ และร่วมมือกับฝ่ายพันธมิตรทั้งหลายดังนั้นเมื่อสงครามเสร็จสิ้นลง นายปรีดีจึงออกประกาศซึ่งเห็นชอบโดยเอกฉันท์ โดยสภาผู้แทนแห่งชาติ โดยมีเนื้อความทำนองว่า“คนไทยไม่เห็นด้วยกับการประกาศสงครามและกระทำการอันเป็นศัตรูต่อ สหประชาชาติ (และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งกระทำการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ได้ประกาศในนามของประชาชนชาวไทยว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษนั้นเป็นโมฆะ และไม่ได้ผูกมัดประชาชนชาวไทย”การเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นการเคลื่อนไหวที่รอบคอบ เพื่อการช่วยชาติให้หลุดพ้นจากผลเสียซึ่งเกิดจากการกระทำของจอมพล ป. หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2488 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา นายเบิรนส์ (Byrnes) ได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับเรื่องนี้และสรุปว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ถือว่าประเทศไทยเป็นศัตรู แต่เป็นประเทศที่จะต้องได้รับการปลดปล่อยจากศัตรู และสหรัฐอเมริกาหวังว่าประเทศไทยจะกลับสู่สภาพเดิมในหมู่ประชาชาติทั้งปวงโดยเป็นประเทศเสรี มีอธิปไตยและมีเอกราชดังนั้นโดยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาทำให้ประเทศไทยสามารถหลีกเลี่ยงชะตากรรมเหมือนดังเช่นของญี่ปุ่นและเยอรมนีอย่างหมิ่นเหม่ อันที่จริงได้มีการพูดถึงการสลายกองทัพไทยในแบบเดียวกับญี่ปุ่นและเยอรมนีเพื่อปูทางให้เกิดรัฐบาลแบบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทยในส่วนของการเมืองภายใน ประเทศไทยได้โผล่ขึ้นมาจากสงครามในลักษณะของประเทศที่มีรัฐบาลใหม่คือ รัฐบาลพลเรือนซึ่งนำโดยพวกเสรีนิยม เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ส่วนความรุ่งเรืองของทหารชาตินิยมและการรวมชาติของจอมพล ป. ได้ตกต่ำลงท่ามกลางสภาพทางการเมืองในลักษณะดังกล่าวนั้นทำให้โอกาสของพวกเสรีนิยมในการที่จะสร้างรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยดูเหมือนจะแจ่มใส เพราะว่าอำนาจทหารถูกจำกัดลง อย่างไรก็ตาม พวกเสรีนิยมก็ไม่สามารถจะพัฒนาระบอบประชาธิปไตยได้ดีเท่าที่ควร และนำไปสู่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 8

วิธีการทางประวัติศาสตร์

เฮโรโดตัส Herodotus บิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้นำคำว่า ประวัติศาสตร์ history มาจากคำในภาษากรีกว่า historeo ที่แปลว่า การถักทอ มาเขียนเป็นชื่อเรื่องราวการทำสงครามระหว่างเปอร์เซียกับกรีก โดยใช้หลักฐานต่าง ๆ เป็นข้อมูล ในการเขียนเป็นเรื่องราว ซึ่งคล้ายกับการถักทอผืนผ้าให้เป็นลวดลายที่ต้องการ เฮโรโดตัส Herodotus จึงเป็น นักประวัติศาสตร์คนแรก ที่นำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มาศึกษาเพื่อเขียนเป็นเรื่องราว อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหตุการณ์ในอดีต อาจมีผู้สงสัยว่ามีทางเป็นไปได้หรือไม่และจะศึกษากันอย่างไร เนื่องจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วและ บางเหตุการณ์เกิดขึ้นมานานมาก จนสุดวิสัยที่คนปัจจุบันจะจำเรื่องราวหรือศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง นักประวัติศาสตร์ ได้อาศัยร่องรอยในอดีตเป็นข้อมูลในการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่ว่านี้เรียกว่า หลักฐานประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์การศึกษาประวัติศาสตร์ มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใด รวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่นำมาใช้ เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุดในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีต ว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์
เขียนโดย นายนที เพชรสุข เลขที่ 38 ม.